เกร็ดเกมน่ารู้ – Hegemony: Lead Your Class to Victory #2 :
“เกมที่เล่าถึง ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงและชั้นล่าง”
จากข้อมูล Hegemony ใช้เวลาในการพัฒนารวมแล้วมากกว่า 2 ปีครับ นับตั้งแต่ Vangelis Bagiartakis และ Varnavas Timotheou ตกลงจะทำเกมร่วมกัน
เริ่มสร้างจากเกม 2 ผู้เล่น !?
รู้ไหมครับว่าทั้งคู่ไม่ได้ปั้นเกมนี้ให้เล่น 4 คนได้มาตั้งแต่แรกนะครับ แต่พวกเขาเริ่มจากเกม 2 ผู้เล่นก่อน แล้วจึงขยายมากลายเป็น 4 ผู้เล่นในภายหลัง เพราะเกมที่แต่ละบทบาทของผู้เล่นไม่สมมาตรกัน นั้นค่อนข้างพัฒนาได้ยากมากครับ
โดย 2 บทบาทที่จะเป็นแก่นหลักของเกม Hegemony ก็คือ Working Class และ Capitalist Class (แรงงาน กับ นายทุน)
Middle Class หรือชนชั้นกลางถูกพัฒนาขึ้นหลังตัวเกมแบบ 2 ผู้เล่นพัฒนาได้สมบูรณ์และได้เริ่มปล่อยตัวทดสอบออกมาแล้ว และ State Class หรือรัฐบาล เป็นบทบาทสุดท้ายที่พัฒนาตามออกมาทีหลังอีกที หลังสร้าง Middle Class ออกมาได้สมบูรณ์
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงและชั้นล่าง
โดยเหตุผลที่ทำให้การตั้งค่าเกมนี้ต้องถูกจำกัด เพราะ “แรงงานกับนายทุน” เป็น 2 บทบาทที่จะขาดไปไม่ได้ เนื่องจากแก่นของ Hegemony นั้นเล่าถึงเรื่องของ “ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงและชั้นล่าง” นั่นเอง
นั่นทำให้เมื่อคุณเล่นเกมนี้ 3 คน คนที่สามจะรับบทเป็นชนชั้นกลาง และเมื่อเล่น 4 คน คนที่สี่จะรับบทเป็นรัฐบาล
ควรเป็นเกมที่สอนผู้เล่นว่าโลกใบนี้นั้นทำงานอย่างไร ?
อีกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกมนี้ ก็คือ “วิธีการชนะ” ครับ เนื่องจากตัวเกม ถูกพัฒนาให้เป็นการแข่งขันระหว่างแรงงาน กับนายทุนมาตั้งแต่ต้น ทำให้ตอนแรก Vangelis และ Varnavas มองว่าการกำหนดนโยบายทั้งหมดให้กลายเป็นสังคมนิยมได้สำเร็จ คือเงื่อนไขการชนะของชนชั้นแรงงาน
แต่ความเป็นจริงของโลกปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น การชนะอาจหมายถึงอีกฝ่ายพ่ายแพ้หรือถูกทำลายจนหมดสิ้น ซึ่งในสังคมสมัยใหม่หรือสังคมประเทศตะวันตกเดี้ยวนี้ การชนะหรือแพ้ไม่ใช่การทำลายอีกฝ่ายให้หายไป
เกมนี้ควรเป็นเกมที่สอนผู้เล่นว่าโลกใบนี้นั้นทำงานอย่างไร นั่นทำให้ Vangelis และ Varnavas เลือกให้เกมนี้มีการแพ้หรือชนะด้วยคะแนนสะสม ที่ผู้เล่นจะหามาได้ จากการทำประโยชน์ให้กับบทบาทของตัวเองแทน จบเกมใครมีแต้มคะแนนมากกว่าก็ชนะไป
ซึ่งมันเรียบง่ายและสมเหตุสมผลมากกว่าครับ
“สื่อการเรียนการสอน” ที่ยืนยันโดยนักวิชาการ
ในท้ายที่สุด เกมนี้สามารถนำไปอ้างอิงเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ได้จริง ๆ นะครับ เพราะตัวเกมมีการส่งให้นักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากหลายสถาบันอย่าง Oxford หรือ King’s Colleg ได้ลองเล่นก่อนแล้ว
ซึ่งในท้ายที่สุดนักวิชาการเหล่านั้นก็มองว่าเกมนี้สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้เลยละ !!
จากใจคนเขียน (>//<)
สำหรับใครที่สนใจเนื้อหาในการพัฒนาเกมมากกว่านี้ ผมแนะนำให้เข้าไปอ่านที่ต้นทางโดยตรงได้เลยนะครับ โดยบทความของการพัฒนาเกมนี้ที่ผมหยิบยกมา เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เนื้อหาจริง ๆ ที่ Vangelis เล่าส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการทั้งหมดในการพัฒนาเกมนี้ขึ้นมาครับ ซึ่งมันเต็มไปด้วยแนวคิดทางวิชาการและเศรษฐศาสตร์มากมาย แนะนำว่าควรเล่นเกมมาสักหน่อย จะช่วยให้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นมากครับ
แต่หลัก ๆ แล้ว เนื้อหาที่น่าสนใจที่สุด ก็คือประสบการณ์ในการพัฒนาเกมที่ไม่สมมาตร หรือที่เราเรียกว่า Asymmetrical… ทำยังไงให้เกมที่ไม่สมมาตรนั้นสมดุล สร้างความแตกต่างของแต่ละบทบาทอย่างไร แล้วทำยังไงถึงทำให้เกมนี้อ้างอิงการศึกษาได้ทั้งหมด
บทความนี้บรรจุเรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้หมดแล้วครับ เข้าไปอ่านจากที่นี่ได้เลย >> [คลิก]