แตกต่างยังไงกับ Wingspan ?
Wyrmspan เป็นเกมที่หยิบเอา Wingspan กลับมาปัดฝุ่นใหม่ พร้อมเปลี่ยนธีมจากการเลี้ยงนก มากลายเป็นเลี้ยงมังกรแทน… ถ้าคุณคิดว่าระบบของเกมนี้เหมือนกัน “คุณคิดผิด” ครับ
เกี่ยวกับตัวเกม
Wyrmspan ออกแบบโดย Connie Vogelmann เจ้าของผลงานอย่าง Apiary หรือเกมผึ้งอวกาศที่เปิดตัวและได้รับความนิยมมาก ๆ ในปี 2023 ที่ผ่านมา ส่วนงานอาร์ตจะเป็นฝีไม้ลายมือของ Clémentine Campardou จากผลงานเกม Delicious และ Floriferous ซึ่งน่าจะมีคนรู้จักไม่มากในไทยเรา
Wyrmspan แตกต่างกับ Wingspan ไหม ?
Wyrmspan เป็นการ์ดเกมสไตล์เดียวกับ Wingspan เล่นได้ 1 – 5 คน ในเกมเราจะได้รับบทเป็นนักวิจัยมังกรมือสมัครเล่น ที่โชคดีมีเขาวงกตอยู่ในที่ดินของตัวเอง ซึ่งมันดึงดูดให้มังกรต่าง ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในที่แห่งนี้ และนั่นทำให้เราเปลี่ยนที่ดินของตัวเองให้กลายเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไปเลย
- ในเกมเราจะต้องสร้างพื้นที่ให้กับมังกรแต่ละแบบ ซึ่งจะมี “รูปทรง” และ “ขนาด” ที่ไม่เหมือนกัน
. - พื้นที่ในเกมนี้จะมีทั้งหมด 3 โซน แต่ละโซนจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
1. Crimson Cavern
2. Golden Grotto
3. Amethyst Abyss
. - พื้นที่แต่ละโซนจะดึงดูดมังกรที่แตกต่างกัน โดยมังกรแต่ละตัวจะมีความสามารถที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย เมื่อใดที่เราสามารถเลี้ยงมังกรตัวนั้นได้ เราก็จะได้ความสามารถของมันมาใช้งานนั่นเอง (engine/tableau-building)
- Wyrmspan จะมีระบบหลายอย่างที่แตกต่างจาก Wingspan หลัก ๆ เลยก็คือ
1. มีระบบฟักไข่
2. มีระบบการ์ดถ้ำ
3. มีระบบกิลด์มังกร
4. มีระบบบุคลิกของมังกร
5. ไม่มีลูกเต๋า ไม่มีการ์ดโบนัส
. - การ์ดถ้ำจะมีมาให้ 75 ใบ เราจะเล่นได้ทั้งหมด 3 ใบบนบอร์ดของเรา โดยการ์ดถ้ำจะให้ความสามารถ “when played” หรือพูดง่าย ๆ คือเมื่อเราทำอะไรตามเงื่อนไข เราก็จะได้สิทธิประโยชน์มากขึ้นนั่นแหละ
. - มีมังกรในเกมทั้งหมด 183 ตัว (ใบ) รวมไปถึงพวกลูกมังกรที่ต้องฟักออกจากไข่ด้วย โดยลูกมังกรจะสามารถเติบโตได้ เวลาให้อาหารเราก็จะได้ใช้ความสามารถของมัน และถ้ามันโตเต็มที่ มันจะมีความสามารถใช้ครั้งเดียวแบบแรง ๆ ให้อีกด้วย
. - กิลด์มังกร มันก็คือระบบการ์ดภารกิจนั่นแหละครับ จะมีมาให้ 4 ใบ ใช้ 1 ใบต่อเกม ถ้าทำตามเงื่อนไขก็จะได้แต้มและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
. - มีระบบการ์ดเงื่อนไข ที่ให้แข่งกันทำให้สำเร็จ โดยจะมีมาให้ 10 ใบ แต่ละใบจะมีหน้าหลังที่ไม่เหมือนกัน
. - มีระบบสำรวจด้วย โดยเราจะส่งเมเปิ้ลตัวละครให้เดินจากซ้ายไปขวาเรื่อย ๆ แต่ละจุดที่เดินจะเป็นการเปิดความสามารถ และถ้าสามารถเดินไปจนสุดได้ ก็จะได้แต้มด้วย
. - โหมด Solo เป็นแบบ Automa มีการ์ดและกฎแยกต่างหาก
- ทีมงานบอกตัวเกมเวท medium-heavy weight เน่อ ใช้เวลาเล่นประมาณ 90 นาที ตัวเกมจะเล่นทั้งหมด 4 รอบเท่านั้น ในแต่ละรอบผู้เล่นจะผลัดกันเล่นจนผู้เล่นจะขอผ่านครบทุกคน จึงจะเท่ากับว่าจบ 1 รอบ
. - Elizabeth Hargrave ผู้ออกแบบเกม Wingspan เป็นเบื้องหลังที่ให้คำแนะนำโดยตรงแก่ Connie Vogelmann เอง รวมไปถึงยังเป็นร่วมทดสอบเล่นให้อีกด้วย
. - ตัวเกมยืนยันว่ารองรับสำหรับคนตาบอร์ดสี เล่นได้แน่นอน
. - กล่องขนาด 296x296x70 มม. น้ำหนัก 2.6 กก.
. - กำหนดวางจำหน่ายบนเว็บไซต์ 31 มกรานี้จ้าาา (2024) และทั่วโลกช่วงมีนาคมนี้
. - รายละเอียดลึก ๆ กว่านี้ สามารถเข้าไปอ่านใน Rules Book จากที่นี่ได้เลยจ้า >> https://www.dropbox.com/scl/fo/gltx3ldsskfmfiflmcsbw/h?rlkey=ha4lz6kvkwmjaglah0lwtzjto&dl=0
ปล. ตัวเกมเอาไปเล่นร่วมกับ Wingspan ไม่ได้เด้อ
ปล2. ตัวเกมจะถูกแปลออกเป็น 12 ภาษา ซึ่งยังไม่มีภาษาไทยในตอนนี้นะ
อัปเดต 05/01/2024
- ตัวเกมรอบแรกจะผลิตทั้งหมดเพียง 100,000 กล่องเท่านั้น
. - Wyrmspan จะซับซ้อนและหนักกว่า Wingspan
. - จริง ๆ ทีมงานมีธีมให้เลือก 2 อย่างคือ “ไดโนเสาร์” กับ “มังกร”
. - ที่ไม่ให้ Elizabeth คนออกแบบ Wingspan มาออกแบบ เพราะตอนนั้นเธอมีโปรเจค The Fox Experiment, Undergrove, และเสริมนกเอเชียถืออยู่ จึงตั้งให้เธอเป็นฝั่งซัพพอร์ตแทน
. - Elizabeth เป็นคนแนะนำ Connie เอง เพราะเคยทำงานร่วมกันในเกม Apiary รวมไปถึงทั้ง 2 ยังมาจากละแวกเดียวกัน (คนบ้านเดียวกัน) อีกด้วย
. - ตอนนี้ตัวเกมถูกระบุว่ามีเวทอยู่ที่ 3.00 โดย Wingspan แค่กล่องหลักจะมีเวทเริ่มต้นที่ 2.46 ครับ (จริง ๆ ถึงใส่เสริมหมด มันก็ไต่ไปไม่ถึง 3.00 นะ)
อัปเดต 07/01/2024
- ในเกม Wyrmspan แม้จะเป็นเรื่องราวของมังกร แต่ในเกมนี้จะไม่มีเรื่องของการจับพวกมัน วางกับดัก หรือกักขังพวกมันแต่อย่างใด เราจะทำแค่สร้างบ้านให้พวกมันอยู่ และวางอาหารที่พวกมันชอบ ให้บินมาอาศัยในบ้านที่เราเตรียมไว้เท่านั้น
. - แอ็คชัน Entice ของ Wyrmspan จะเหมือนกับแอ็คชัน Play a Bird ของ Wingspan หรือก็คือแอ็คชันการเล่นการ์ดจากบนมือนั่นเอง
. - แต่สิ่งที่ต่างกันระหว่าง Entice กับ Play a Bird อยู่ตรงที่ Entice ใน Wyrmspan ไม่จำเป็นต้องใช้ไข่ และเราสามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรในอัตรา 2:1 ได้ตลอดเวลา
. - การเล่นการ์ดมังกร จะทำให้แอ็คชัน Explore ทำงานต่อได้ หรือพูดง่าย ๆ คือ เราจะส่งคนไปสำรวจถ้ำต่อไปไม่ได้ ถ้าในถ้ำยังไม่มีมังกรอาศัยอยู่นั่นเอง
. - มังกรในเกมมีลักษณะนิสัยอยู่ทั้งหมด 4 อย่าง Aggressive, Helpful, Playful, และ Shy ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงกับการ์ดบางประเภทด้วย รวมถึงถูกออกแบบมาให้เข้ากับธีมของตัวเกม
. - อย่างไรก็ตาม Jamey Stegmaier เจ้าของค่าย Stonemaier Game เล่าว่า 1 ในอารมณ์ทั้ง 4 นี้ถูกสร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากแมวของเขาที่ชื่อว่า Walter รวมไปถึง Biddy ซึ่งเสียไปเมื่อปีที่แล้ว
. - เหรียญการ์ดบอร์ดในเกมจะเคลือบฟอยล์ทั้งหมด และไข่ในเกมทั้งหมดจะทำขึ้นจากไม้ และเพ้นท์สีตามธีมให้แล้ว
. - มีชุดอัปเกรดขายด้วยนะ เปลี่ยนพวกทรัพยากรต่าง ๆ จากกระดาษเป็นไม้ และเหรียญกลายเป็นโลหะ และแน่นอนว่ามีเพลแมทขายแยกด้วย
อัปเดต 10/01/2024
- ในรอบนึง เราสามารถ Explore ถ้ำของเราได้หลายรอบ และสามารถ Explore ซ้ำถ้ำเดิมได้ด้วย แต่การสำรวจถ้ำเดิมซ้ำ จำเป็นต้องจ่ายทรัพยากรมากขึ้น
. - ทรัพยากรที่ต้องจ่ายเพิ่มก็คือ “ไข่” เพราะยิ่งเราเข้าไปสำรวจถ้ำมากเท่าไร มังกรที่อยู่ในถ้ำก็ยิ่งรู้สึกถูกรบกวนมากขึ้น เราจึงต้องจ่ายทรัพยากรมากกว่าเดิม เพื่อให้สามารถสำรวจถ้ำได้อย่างราบรื่น
. - ในตัวเกมจะมีมังกรเด็ก (hatchlings) ทั้งหมด 35 ใบ ต้องใช้ไข่อย่างน้อย 1 ฟองและนม 1 อันในการเล่นความสามารถของการ์ดเหล่านี้ ซึ่งที่ต้องใช้ไข่ เพราะใน Wingspan มีแฟนเกมแซวอยู่บ่อย ๆ ว่าทำไมเรามีไข่แล้ว เราถึงไม่ฟักไข่ให้มีลูกนกเกิดออกมาละ
. - Dragon Guild เป็นระบบที่ออกแบบมา เพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นโดยเฉพาะ (interaction)
. - Dragon Guild หรือกิลด์มังกร เป็นการ์ดเงื่อนไขที่เราจะต้องแข่งกันแย่งชิงสิทธิประโยชน์ที่มีให้อย่างจำกัดกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ในเกมจะมีทั้งหมด 4 ใบ เลือกเล่น 1 ใบต่อ 1 เกม
. - กิลด์ทั้ง 4 ประกอบไปด้วย
– Guild of Seafarers: กิลด์นี้จะโฟกัสเรื่องมังกรเป็นหลัก
– Guild of Highlands: กิลด์นี้โฟกัสเรื่องถ้ำ
– Plains Guild: โฟกัสเรื่องไข่
– Rainforest Guild: โฟกัสเรื่องทรัพยากร
. - ระบบ Dragon Guild จะมีการปรับบาลานซ์ไว้ 2 ระดับ คือสำหรับ 2 – 3 คน และ 4 – 5 คน
. - โลกของ Wyrmspan มีชื่อโลกว่า Wyrth จะคล้ายกับโลกของเรามาก โดยมังกรทั้งหมดในเกมนี้ เป็นสัตว์ที่ได้วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์อีกทีนึง เพราะในโลกนี้จะไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์ ทำให้พวกมันวิวัฒนาการต่อ
. - การออกแบบมังกรในเกม สีของมังกรจะเชื่อมโยงกับสีถ้ำที่มันชอบอาศัยอยู่ และยังเชื่อมโยงไปถึงอาหาร หรือทรัพยากรที่มังกรเหล่านั้นชื่นชอบด้วย
. - การตั้งชื่อมังกร คำที่สองของชื่อ ส่วนใหญ่จะเป็นการระบุว่ามังกรพวกนั้นเป็นประเภทอะไร โดยส่วนใหญ่แล้ว การจัดประเภทจะขึ้นอยู่กับว่ามีปีกหรือไม่มี มีขากี่ขา รวมไปถึงสไตล์และความสวยงามของพวกมัน
. - คำแรกของชื่อ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความสามารถ เช่น มังกรที่มีความสามารถด้านกิลด์มังกร ชื่อมันจะดูเก่า ๆ, มังกรที่กินมังกรด้วยกัน ชื่อจะดูโหดร้าย, มังกรที่มีปฏิสัมพันธ์กับการ์ดถ้ำ จะมีชื่อเป็นหินประเภทต่าง ๆ
. - อารมณ์ถูกสร้างขึ้นจากบรรยากาศของตัวมังกร และความสามารถของมัน
. - ชื่อถ้ำต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ก่อนหน้ามันมีชื่อเป็นสีเท่านั้น
แหล่งที่มา boardgamegeek.com